ภารกิจพิเศษ
สรุปเนื้อหาจากวรรณกรรมท้องถิ่น เรื่อง ท้าวศรีธนญชัย
บทที่ ๑
สรุปเนื้อหาวรรณกรรมท้องถิ่น
เรื่อง ท้าวศรีธนญชัย
ศรีธนญชัยเป็น คนฉลาดเฉลียว เจ้าเล่ห์
เจ้าความคิด ช่างพูด ช่างเจรจา เป็น ลูกของนายชัย กับ นางศรี
ซึ่งชื่อนั้นก็ได้เอาชื่อ พ่อ กับ แม่ผสมอยู่ด้วย และมีน้องอีกคน ศรีธนญชัย จึงมีหน้าที่ดูแลน้อง
วันหนึ่งมีแม่ค้าขายขนมมาขายที่บ้าน พ่อแม่ก็ซื้อให้ และแบ่งให้ลูกๆเท่าๆกัน
แต่เซียงเมียงกลับเอ่ยว่า น้องตัวเล็กต้องได้น้อยกว่าพี่จึงจะถูก
แม่ค้านั้นเห็นน้องของเซียงเมียงน่ารัก น่าเอ็นดูจึงหยิบขนมแถมให้ ทำให้ศรีธนญชัยไม่พอใจ
วันนั้นทั้งวัน ศรีธนญชัยไม่ดูแลน้อง
น้องจึงเล่นสกปรก เล่นดินเล่นทราย จนแม่มาเห็นจึงบอกให้ศรีธนญชัยดูแลอาบน้ำล้างขี้ล้างเยี่ยวล้างตับไตไส้พุงน้องให้สะอาด
ศรีธนญชัยจึงจับน้องผ่าท้องควักตับไตไส้พุงออกมาล้าง
เอาขมิ้นดินสอพองทาอย่างดีแล้วเอาใส่เปลเห่กล่อม
พ่อแม่รู้จึงเอาหวายมาไล่เฆี่ยนไล่ตีและขับไล่ให้ออกจากบ้าน
ไปบวชอยู่วัดแห่งหนึ่งอยู่ได้ไม่นานก็ถูกขับไล่ออกมา เพราะไปยอกเย้าหลานสาวสมภาร
ศรีธนญชัยจึงไปขออยู่กับแม่ค้าขายขนม
(ซึ่งมีความแค้นกันอยู่)
วันหนึ่งแม่ค้าใช้ให้เอาขนมไปขาย และขอให้ขายดีเหมือนเทน้ำเทท่า ศรีธนญชัยจึงเอาไปน้ำเทท่าจริงๆ
กลับมาบ้านแม่ค้าถามหาเงิน ศรีธนญชัยก็ได้โกหกว่าคนแถวบ้านเชื่อไว้วันหน้าจะเอาเงินมาให้
หลายวันเข้าแม่ค้าจับได้จึงเอาไปฝากไว้กับลูกชายซึ่งเป็นขุนนาง(หลวงนาย)ชุบเลี้ยงในเมืองหลวงให้ช่วยกำราบเจ้าศรี
พอมาอยู่ที่นั่นก็ได้มีหน้าที่ถือล่วมใส่หมากพลูไปเฝ้าพระราชา
วันหนึ่งเกิดทำพลูหล่นหาย หลวงนายจึงบอกว่าควรระมัดระวังเห็นอะไรก้เก็บให้หมด
วันต่อมา เจ้าศรีเห็นขี้หมา ขี้แมวแห้งก็เก็บใส่ล่วมมาหมด จึงนำถวายหลวงนาย
วันนี้เพื่อนของหลวงนายมาพอดี จึงจะเปิดล่วมให้เพื่อนด้วย
พอเปิดขึ้นหลวงนายก็ไม่พอใจไล่เตะเจ้าศรีด้วยความโมโห
เมื่ออยู่ในวัง
เจ้าศรีได้ใช้ความรู้ความสามารถปฏิบัติหน้าที่จนราชาพอพระทัย จึงเลื่อนขั้นเป็น
ขุนศรีธนชัย พอโตขึ้นนิสัย ขุนศรี ก็ฉลาดแกมโกง กำเริบ
ไม่ค่อยได้มาเข้าเฝ้าดังแต่ก่อน ครั้นราชาทรงถามก็ตอบว่ามัวแต่สร้าง เรือนทอง
อยู่จึงไม่ค่อยว่าง ราชาจึงเสด็จไปดูพร้อมนางกำนัล
พอถึงปรากฏว่าเป็นเรือนไม้ทองหลางจึงรู้ว่า ขุนศรี นี้หลอกเอาแล้ว จึงสั่งคนในวังไปถ่ายรดเรือนจนเลอะเทอะ
สมพระทัยแล้วจึงกลับวัง เจ้าศรีกลับทุบตีเหล่านางกำนัล
และหาว่าพวกนางทำเกินคำสั่งเพราะตดด้วย
อยู่ต่อมาเจ้าศรีอยากมีที่ดินไว้สร้างฐานะของตน
จึงขอที่ดินเท่าแมวดิ้นตาย กับราชา ราชาตอบตกลง เจ้าศรีจึงไล่ตีแมว
แมวเจ็บร้องเสียงหลงวิ่งเตลิดเปิดเปิงไปถึงที่นาใครเจ้าศรีก็เอาธงปักไว้
ชาวนาเข้าไปร้องเรียน พระราชาไม่รู้จะทำประการใดได้แต่นำทรัพย์มาทดแทนชาวนาไป
เพราะตรัสแล้วมิอาจคืนคำได้
ท่านพระยาให้นำยาพิษ ใส่ในอาหารมาให้ทหารนำมาให้ขุนศรีกิน
ขุนศรีนั้นรู้ว่าในอาหารนี้มียาพิษแน่นอน เพราะเอาอาหารวางไว้ไม่นานแมลงวันได้บินมาตอนแล้วก็ตาย
ขุนศรีเลยตั้งใจจะกิน และแก้แค้นคืน โดยบอกกับภรรยาว่า
หากข้าตายแล้วให้นำศพของข้านั่งบนเก้าอี้หันให้ประตูบ้านแล้วจัดท่าทางข้า
ทำเหมือนข้ากำลังอ่านหนังสือ ภรรยารับคำทั้งน้ำตา ว่าแล้ว จุดจบของขุนศรีคือ
ยอมกินอาหารที่มียาพิษด้วยตนเอง แล้วก็จากโลกไป
ท่านพระยาได้ให้ทหารมาสอดแนมว่าขุนศรีตายหรือยัง
ทหารนั้นเห็นลางๆว่าขุนศรีกำลังนอนอ่านหนังสืออยู่ จึงแอบไปถามภรรยาขุนศรีว่า
ขุนศรีนั้นกินอาหารหรือยัง ภรรยาตอบว่ากินจนหมดแล้ว ทหารจึงไปบอกท่านพระยาว่า
ยาพิษที่ใส่ลงไปคงเป็นยาอย่างอื่น ไม่ใช่ยาพิษแน่ ขุนศรีถึงไม่ตาย ว่าแล้ว
ท่านพระยาและเหล่าทหารนั้นก็ได้พิสูจน์ยาพิษนั้น โดยการกินทุกคน ไม่ถึงนาที
ทุกคนก็ตายกันไปหมด
บทที่ ๒
วิเคราะห์ชื่อและเนื้อหาในวรรณกรรมท้องถิ่น
เรื่อง ท้าวศรีธนญชัย
๑. ผู้แต่ง
เตวโรภิกขุ (อินตา กวีวงศ์)
น.ธ.เอก
๒.
วิเคราะห์ชื่อเรื่อง
ตั้งชื่อมาจากตัวละครเอกของเรื่อง คือ ศรีธนญชัย
๓.
วิเคราะห์แก่นเรื่อง
เหนือฟ้ายังมีฟ้า อย่าคิดว่าจะไม่มีคนอื่นเก่งกว่าตัวเรา
๔.
วิเคราะห์โครงเรื่อง
- การเปิดเรื่อง
สามีภรรยาคู่หนึ่งได้บนบานศาลกล่าวขอ บุตร กับเทวดา
- ดำเนินเรื่อง
การใช้ชีวิตของตัวละครเอก คือ ศรีธนญชัย ตั้งแต่วัยเด็กจนโต
และกระทั่งเสียชีวิต
- ปมของเรื่อง
ศรีธนญชัย เป็นคนฉลาด ไหวพริบดี แต่ดันใช้ไปในทางที่ไม่ดี
จนมีแต่ผู้คนเกลียดชัง
- จุดสูงสุดของเรื่อง
ศรีธนญชัย หลงตัวเอง คิดว่าตัวเองเป็นผู้ที่ฉลาด
และเก่งที่สุด
- คลายปม
ศรีธนญชัย มาเจอเณรน้อย ที่ฉลาดและเก่งกว่า
- ปิดเรื่อง
ศรีธนญชัย แพ้พนันเณรน้อย ที่ฉลาดและเก่งกว่า เขาเสียใจ
จึงเสียสติและล้มป่วย จนกระทั่งเสียชีวิตในที่สุด
๕.
วิเคราะห์ตัวละคร
- ท้าวศรีธนญชัย
ลักษณะของตัวละคร
- เพศ : ชาย
- ชาติ : มนุษย์
- ฐานะ : ปานกลาง
- ลักษณะเด่น :
เป็นคนไหวพริบดี แก้ไขปัญหาต่างๆได้ เก่ง ฉลาด แต่จะใช้ปัญญาไปในทางที่ไม่ดี
เรียกว่า ฉลาดหลักแหลม
- สถานะ : มีภรรยา
- เณรน้อย
ลักษณะของตัวละคร
- เพศ : ชาย
- ชาติ : มนุษย์
- ฐานะ :
นักปฎิบัติธรรม
- ลักษณะเด่น
: เป็นสามเณร ที่ไหวพริบดี เก่ง ฉลาด และใช้ปัญญาไปในทางที่ดี ไม่ประมาณ
- สถานะ : เป็นสามเณร
- พระราชา
ลักษณะของตัวละคร
- เพศ : ชาย
- ชาติ : มนุษย์
- ฐานะ : ร่ำรวย เป็นกษัตริย์
- ลักษณะเด่น : เป็นกษัตริย์ปกครองบ้านเมือง มีความเป็นผู้นำ ชอบเอาชนะ
- สถานะ : มีภรรยา
วรรณกรรมท้องถิ่น เรื่อง นิทานท้าวศรีธนญชัย
เป็นการแต่งขึ้นโดยการใช้ภาษาถิ่นอีสาน
ลักษณะของภาษาที่ใช้มีความคล่องจองกันจึงทำให้ภาษามีความสวยงามเป็นพิเศษ
๗. ฉาก/สถานที่
- ฉากในราชวัง ตอนศรีธนญชัยเขาพบพระราชา
- ฉากในวัดตอนศรีธนญชัยบวช
- ฉากบ้าน ตอนศรีธนญชัยผ่าท้องน้องตัวเองและถูกไล่ออกจากบ้าน
- ฉากบ้านเมือง หมู่บ้าน
- ฉากป่าเขาลำเนาไพร ตอนศรีธนญชัยเดินทาง
บทที่ ๓
ความโดดเด่นของโครงเรื่อง
วรรณกรรมท้องถิ่น เรื่อง นิทานท้าวศรีธนญชัย
เป็นการแต่งขึ้นโดยการใช้ภาษาถิ่นอีสาน ลักษณะของภาษาที่ใช้มีความคล่องจองกันจึงทำให้ภาษามีความสวยงามเป็นพิเศษในเนื้อหาสาระจะเน้นไปในทางสนุกสนาน
ตลกขบขัน จึงทำให้ผู้อ่านมาความเพลินเพลินใจ
บทที่ ๔
การนำไปประยุกต์ใช้
๑.นิทานก้อม
๒.ภาพยนตร์เรื่อง
ศรีธนญชัย ๕๕๕+
บทที่ ๕
สรุปท้ายเรื่องอินโฟกราฟฟิค
สร้างสรรค์ให้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนสำหรับนักเรียน
เช่น นิทาน สรภัญญะ ภาพระบายสี การ์ตูน โครงงาน สมุดภาพ (อย่าชิ้นใหญ่ สามารถพกพาไปได้ง่าย)
การสร้างสรรค์สื่อประกอบการเรียนการสอน คือ สร้างสรรค์ในรูปแบบของนิทาน ประยุกต์สั้นๆ ที่เหมาะแก่วัยและวุฒิภาวะของนักเรียน และที่สำคัญคือสอดแทรกในเรื่องคุณธรรมจริยธรรมเข้าไว้ในนิทานด้วย เพื่อเป็นการสอนให้นักเรียนรู้ถูก ผิด
ขั้นตอนในการทำการเรียนการสอน
- ครูชี้แจงให้นักเรียนทราบเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในคาบเรียนนี้
- ครูมีสื่ออุปกรณ์ ซึ่งทำกระดาษแข็งให้เป็นหุ่นกาตูนร์ผู้ชาย เพื่อเป็นตัวละครในการเล่านิทานแต่ละเรื่อง โดยครูเป็นผู้เชิดหุ่นประกอบกับการเล่านิทานแต่ละเรื่อง และในการเล่านิทานนั้นก็พร้อมด้วยการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมเข้าด้วย เพื่อเป็นการสอนนักเรียน
- ครูสาธิตการแสดงละครในชั้นเรียน
- ครูและนักเรียนช่วยกันสรุป แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานที่ทำการแสดงเสร็จ
- ให้นักเรียนสรุปและแสดงความคิดเห็นใส่กระดาษ A4 เป็นการบ้านแล้วนำมาส่งในคาบเรียนหน้า
..........................................................................
ชื่อ - สกุล
: นางสาวปนัดดา วัดจันทร์
นักศึกษาคณะครุศาสตร์
สาขาวิชาภาษาไทย
ชั้นปีที่ ๓
หมู่เรียนที่ ๓ รหัสนักศึกษา ๕๗๒๑๐๔๐๖๓๐๕
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น